Difference between revisions of "About ADempiere th"

From ADempiere
Jump to: navigation, search
This Wiki is read-only for reference purposes to avoid broken links.
Line 1: Line 1:
 
==เกี่ยวกับ ADempiere==
 
==เกี่ยวกับ ADempiere==
[[Image:Features.gif|300px|thumb|Download documentation from [http://sourceforge.net/projects/adempiere/files Sourceforge]]] โครงการ ADempiere ถูกเริ่มขึ้นเมื่อ เดือนกันยายน ปี 2006 หลังจากความเห็นที่แตกต่างอันยาวนานระหว่างบริษัท [[Difference With Compiere|ComPiere]] Inc., นักพัฒนาของ Compiere™ และชุมชนที่ได้รวมตัวกันรอบๆโครงการนี้ ชุมชนมีความเห็นว่าบริษัท Compiere Inc. ไปเน้นให้ความสำคัญในเรื่อง "การจำกัด/เชิงพานิชย์" มากไปกว่าการเป็นชุมชน "การแบ่งปัน/ปรับปรุง" ตามธรรมชาติของโครการ และหลังจากการถกเถึยงจึงได้ขอแยกตัวออกจาก Compiere™ และให้กำเนิดโครงการ ADempiere
+
[[Image:Features.gif|300px|thumb|Download documentation from [http://sourceforge.net/projects/adempiere/files Sourceforge]]] โครงการ ADempiere ถูกเริ่มขึ้นเมื่อ เดือนกันยายน ปี 2006 หลังจากความเห็นที่แตกต่างอันยาวนานระหว่างบริษัท [[Difference With Compiere th|ComPiere]] Inc., นักพัฒนาของ Compiere™ และชุมชนที่ได้รวมตัวกันรอบๆโครงการนี้ ชุมชนมีความเห็นว่าบริษัท Compiere Inc. ไปเน้นให้ความสำคัญในเรื่อง "การจำกัด/เชิงพานิชย์" มากไปกว่าการเป็นชุมชน "การแบ่งปัน/ปรับปรุง" ตามธรรมชาติของโครการ และหลังจากการถกเถึยงจึงได้ขอแยกตัวออกจาก Compiere™ และให้กำเนิดโครงการ ADempiere
  
 
== ADempiere - คำนี้มาจากไหน? ==
 
== ADempiere - คำนี้มาจากไหน? ==

Revision as of 01:28, 28 May 2010

เกี่ยวกับ ADempiere

Download documentation from Sourceforge
โครงการ ADempiere ถูกเริ่มขึ้นเมื่อ เดือนกันยายน ปี 2006 หลังจากความเห็นที่แตกต่างอันยาวนานระหว่างบริษัท ComPiere Inc., นักพัฒนาของ Compiere™ และชุมชนที่ได้รวมตัวกันรอบๆโครงการนี้ ชุมชนมีความเห็นว่าบริษัท Compiere Inc. ไปเน้นให้ความสำคัญในเรื่อง "การจำกัด/เชิงพานิชย์" มากไปกว่าการเป็นชุมชน "การแบ่งปัน/ปรับปรุง" ตามธรรมชาติของโครการ และหลังจากการถกเถึยงจึงได้ขอแยกตัวออกจาก Compiere™ และให้กำเนิดโครงการ ADempiere

ADempiere - คำนี้มาจากไหน?

ชื่อนี้ได้รับการเสนอระหว่างการถกเรื่องการแยกตัว โดย Carlos Ruiz ความหมายของมันในท้ายที่สุดได้รับการเขียนลงบนเวปไซต์เป็นส่วนหนึ่งของการประกาศตัวของเรา ซึ่งถูกเขียนโดย Colin Rooney ใน วิกิพีเดีย

ชื่อโครงการมาจากคำในภาษาอิตาลีมีความหมายว่า 'เติมเต็ม' แต่ในความหมายเสริมคือ "ทำให้สำเร็จ, ถึงเป้าหมาย, ฝึกฝน, ทำหน้าที่, หรืออิสระ มันยังมีความหมายในเชิงให้เกรียติและการเคารพ" ซึ่งให้ความรู้สึกที่เหมาะสมกับสิ่งที่โครงการหวังจะทำให้สำเร็จ

ชื่อ ADempiere นี้ได้รับการชื่นชมจากชุมชนเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี Matt Asay ได้เคยให้ความเห็นอย่างน่าสนใจว่ามันยัง 'กะพร่องกะแพร่ง' ใน infoworld blog แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาได้เขียนอีเมล์ส่วนตัวไปหา Red1 เพื่อขอโทษและยังใช้เวลาในการเขียนเรื่องเพิ่มเติมอย่าง สิทธิ์ในการแยกตัว และ สิทธิ์ในการริเริ่ม

โครงสร้างของโครงการ

จากการที่เป็นโครงการแบบชุมชนออนไลน์ ทุกคนมีสิทธิ์ในการออกความเห็น (และได้รับการสนับสนุนให้ทำอย่างนั้น) แต่ด้วยสมาชิกที่มีอยู่กว่า 30 ประเทศทั่วทั้ง 5 ทวีป เพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติ โครงการจะมีการแนะนำโดย สภา ของกลุ่มผู้ก่อตั้ง ผู้นำจะได้รับการเสนอชื่อจากสภานี้เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้จัดการโครงการในภาพรวม ส่วนหน้าที่ของสถาแห่ง ADempiere ก็คือ

  • สนับสนุนการตัดสินใจของผู้นำ
  • รับการร่วมสนับสนุนจากแหล่งต่างๆ
  • วางแผน
  • ตรวจสอบและอนุมัติรายละเอียดสเปค
  • โหวตเลือกคุณสมบัติใหม่ๆ
  • อนุมัติการเปลี่ยนแปลงที่แกนของระบบ
  • ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้

และเมื่อโครงงานมีความก้าวหน้าไป โครงสร้างด้านอื่นๆเริ่มเข้าที่เข้าทาง คณะกรรมการโครงการจะรับดูแลงานด้านการจัดการและการตัดสินใจเชิงเทคนิคของโครงการ โครงการยังจะมีกลุ่มมูลนิธิเบื้องหลังเพื่อจัดการบริหารเงินทุนสนับสนุนและข้อตกลงกับบริษัทต่างๆทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของชุมชน

เป้าหมายของโครงการนี้

เป้าหมายของโครงการนี้คือการสร้างชุมชนที่ร่วมกันพัฒนาและสนับสนุนธุรกิจที่ใช้โอเพ่นซอร์ส กลุ่มชุมชนในโครงการเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายก็คือแนวทางการทำงานแบบ ตลาดสด จากบทความชื่อก้องของ Eric Raymond เรื่อง มหาวิหารกับตลาดสด ความมุ่งมั่นนี้ของชุมชนทำให้โครงการนี้แตกต่างจากโครงการโอเพ่นซอร์ด้านธุรกิจอื่นๆ แนวคิดนี้ได้รับการประกาศและลงหลักอย่างมั่นคงอยู่ใน กฎบัตรของโครงการ

โครงการแบบนี้จะนำมาซึ่ง:

  • ชุดของซอฟท์แวร์ที่มีคุณภาพ
    • ต้นแบบและการทดสอบอย่างดีเยี่ยมโดยกลุ่มผู้ใช้จำนวนมากทั่วโลก
    • การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของชุดซอฟท์แวร์เสริมและการปรับปรุงคุณสมบัติอย่างต่อเนื่อง
    • อัตราการยอมรับอย่างรวดเร็วเมื่อไม่มีข้อจำกัดในเรื่องการติดตั้งและคู่มือวิธีการต่างๆ
  • การสนับสนุนด้านการบริการในระยะยาวโดยผู้ให้บริการต่างๆ
    • ผู้ให้บริการต้องการซอฟท์แวร์ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
    • ผู้ให้บริการต้องการให้มีคุณค่าสูงในตลาดบน มากกว่าแค่การให้บริการในระดับล่าง
    • เพิ่มฐานลูกค้าช่วยสร้างความมั่นใจในระดับตลาดบน
  • การมีส่วนร่วมอย่างสูงสุดของนักพัฒนา
    • การไม่ไขว้เขวจากเรื่องเชิงพานิชย์และการอุปถัมภ์จากองค์กรจัดตั้งต่างๆ
    • การให้เกรียติกับผู้ที่เป็นผู้ให้อย่างจริงรัง
    • การมอบหมายสิทธิ์ในการดูแลระบบขึ้นกับแนวคิดการไม่มีชนชั้น (Meritocracy)
    • ทำตามกฎขององค์กรซอฟท์แวร์เสรี (FSF) และการริเริ่มด้านโอเพ่นซอร์ส (OSI)
    • ความเป็นผู้นำและการวิสัยทัศน์

การเมือง

  • เนื่องจากมียักษ์ใหญ่ที่นำหน้าเราอยู่หลายก้าว เราจึงเชื่อมั่นใน การไม่มีชนชั้น และ ความเท่าเทียม (Linus Torvalds) อย่างเช่นภายใต้หลักการของ 'การให้' เราเชิดชูผู้ให้ทุกคนว่า ประเมินค่ามิได้ (Red1.org) โดยเฉพาะกับต้นตำรับอย่าง Compiere ซึ่งได้รับการเชิดชูว่าเป็น Kernel Contributor และเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ซอฟท์แวร์และตลาดสดแห่งนี้ดำรงอยู่
    • อย่างไรก็ตามภายใต้หลักของความเท่าเทียม เจ้าของ Compiere คุณ Jorg Janke ก็ไม่ได้นับตัวของเขาเอง ‘เท่าเทียม’ กับพวกเรา เท่าเทียมกันในแง่ของโค้ดส่วนที่เป็นสาธารณะ แต่ในช่วงที่กลับเข้ามาในหลักการของชุมชน แล้วเราก็เป็นหนึ่งเดียว
  • จากจรรยาบรรณดังกล่าว เราต่อต้นผู้ที่ขโมยงานของผู้ที่ร่วมแบ่งปันโดยไม่ได้ช่วยประกาศโฮมเพจของผู้ให้ หรือไม่ให้เกรียติในการให้นั้นๆ
    • มีซอฟท์แวร์หลายตัวที่แตกออกจาก Compiere ที่ ‘ขโมย’ DataModel และการออกแบบโค้ดทั้งหมด แต่เปลี่ยนโค้ดด้วยเทคนิคการแปลงคำ อ้างว่าเป็นของที่สร้างขึ้นเองใหม่แต่เรารู้
    • สำหรับพวกเราที่นี่เราไม่ประกาศตัวอย่างไม่รู้บุญคุณเช่นนั้น เรายังรับรู้และดำรง Jorg Janke และ Compiere ในฐานะผู้ถือลิขสิทธิ์ใน java classes ทั้งหมดที่เราปรับปรุง และจะประกาศผู้เขียนและผู้ถือลิกขสิทธิ์ในโค้ดใหม่เฉพาะเมื่อ classes นั้นๆเป็นของใหม่ทั้งหมด
    • เราไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อ ADempiere ในเชิงพานิชย์และสนับสนุนให้พันธมิตรธุรกิจทั้งหลายพัฒนารูปแบบทางธุรกิจเองภายใต้ชื่อของตัวเอง

อ่านเพิ่งเติม

ภาษาอื่น

English